โควิด เปลี่ยนชีวิตคนต่างชาติที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นอย่างไร?
1 ถนนที่ว่างเปล่า
หลังจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศภาวะฉุกเฉิน ผู้คนก็หายไปหมด โตเกียวเมืองที่มีคนเยอะตลอดเวลา ตอนนี้หายไปไหนกันหมดเนี่ย
2 ร้านค้าปิดทำการ
แม้กระทั่งร้านค้า ร้านอาหารชื่อดังต่างๆ ที่มักมีคนต่อแถวรออย่างยาวเหยียด ก็ต้องปิดร้านชั่วคราว บรรดาร้านอาหารและโรงแรมก็มีค่าใช้จ่ายจำนวนมากที่ต้องแบกรับเอาไว้ หวังว่าทุกอย่างจะกลับมาเหมือนเดิมเร็วๆนี้
3 Work from Home
(รูปนี้เป็นตอนมื้อกลางวันของวันเสาร์นะ)
ผู้คนจำนวนมากทำงานที่บ้านกัน โดยผ่านแอปพลิเคชั่นต่างๆ เช่น Zoom ในการประชุม หรือคุยงานกัน แต่ก็ยังมีบางบริษัทที่ยังต้องไปทำงานปกติเช่นกัน
4 สถานที่ท่องเที่ยวแทบไม่มีคน
แม้ว่าในรูปนี้จะมีคนเดินไปมาอยู่ 5-6 คน แต่ร้านค้าด้านในปิดแทบทุกร้าน ต่างจากปกติที่มีคนเยอะมาก แต่มองในอีกมุมนึง ช่วงนี้ก็เป็นเวลาที่ดีที่จะได้ภาพสวยๆ ปราศจากผู้คน แต่ก็ไม่ใช่เวลาที่ควรออกจากบ้านสักเท่าไร
5 Stay Home
แฮชแทก #StayHome เป็นแฮชแทกที่คนใช้เยอะมากในช่วงนี้ รวมถึง #seeyousoonjapan ด้วย
ไม่ว่าใครก็ชอบอยู่บ้านหละเนอะ
6 Zoom
แอปพลิเคชั่น Zoom ถูกใช้ในการทำงานอย่างแพร่หลาย ในช่วงเวลาการ work from home แบบนี้ ทั้งประชุม สังสรรค์กับเพื่อน นัดเดท เล่นเกม และอีกหลายกิจกรรมที่จำเป็นต้องเห็นหน้ากัน
7 เครื่องวัดอุณหภูมิ
ก่อนหน้านี้ผมไม่เคยคิดที่จะควักเงินซื้อไอเจ้าเครื่องวัดอุณหภูมินี้มาใช้เลย แต่ตอนนี้ถึงจะมีเงินก็ไม่สามารถซื้อได้ เพราะขายหมดทุกที่ รวมถึงหน้ากากอนามัยด้วย
8 ใส่หน้ากากออกกำลังกาย
โดยปกติแล้วผมวิ่งออกกำลังกายทุกสัปดาห์ และไม่คิดถึงการใส่หน้ากากขณะออกกำลังกายเลย แต่ก็เห็นผู้คนใช้ผ้ามาปิดหน้าขณะวิ่งออกกำลังกาย เพื่อป้องกันตัวเอง รวมถึงป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ถ้าเราเห็นคนเลิกใช้ผ้ามาปิดหน้าขณะออกกำลังกายเมื่อไร แสดงว่าโควิดกำลังจะหายแล้ว
9 แผ่นพลาสติกที่สถานีรถไฟ
รวมถึงร้านสะดวกซื้อ มีการใช้แผ่นพลาสติกมากั้นระหว่างพนักงาน และลูกค้า ลดการสัมผัส และการกระจายของเชื้อ เป็นการ DIY ที่ง่ายๆ แต่ใช้ได้จริง
10 ป้ายโฆษณาหายไป
ป้ายโฆษณาตามสถานีรถไฟ หายไป เหลือแต่ผนังที่ว่างเปล่า
11 สวมหน้ากากอนามัยทุกที่
ไม่เว้นแม้สวนสาธารณะที่คนมาวิ่งออกกำลังกาย สูดอากาศบริสุทธิ์ ก็สวมใส่หน้ากาก และเว้นระยะห่างจากกัน
เครื่องเล่นเด็กถูกคลุมด้วยผ้าใบ และกั้นไม่ให้เด็กเข้าไปเล่นได้
งดใช้เครื่องเล่น
12 ไม่ต้องต่อแถวนาน
ปกติแล้วร้านในรูปจะมีการต่อแถวซื้อของยาวมากไปจนถึงถนน แค่เดินผ่านยังยาก แต่ตอนนี้ไม่มีคนเลย
นี่เป็นโอกาสของเราที่จะได้ซื้อแล้ว!
13 ถาดใส่เงิน
แม้ว่าการใช้ถาดใส่เงินจะเป็นเรื่องปกติของญี่ปุ่นก่อนจะมีการระบาดเกิดขึ้น แต่ช่วงนี้เข้มงวดกว่าเดิม เพราะไม่มีใครอยากสัมผัสกับเชื้อโรคที่จะติดมากับเงิน
14 สตาร์บัคส์ปิด
สำหรับคนชอบดื่มกาแฟสตาร์บัคส์ การที่ร้านปิดนั้นค่อนข้างจะมีผลกระทบอยู่เหมือนกัน แต่ตอนนี้สตาร์บัคส์เปิดให้บริการแล้วแต่ก็ยังจำกัดเวลา และมีแค่บางสาขาที่เปิดให้บริการ
15 หน้ากากอนามัย กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน
ช่วงระบาดหนักๆหาซื้อได้ยากมาก ทั้งออนไลน์หรือตามร้านค้า แต่ปัจจุบันเริ่มมีให้เห็นกันบ้างแล้ว
16 รายการโทรทัศน์ก็ Work from home
มันก็จะดูแปลกๆหน่อยสำหรับรายการโทรทัศน์ และดารานักแสดงหลายคนก็เริ่มหันมาใช้ Youtube ในการทำรายการต่างๆ
17 เดลิเวอร์รี่เพิ่มขึ้น
ก่อนหน้านี้บริการส่งอาหารตามบ้านก็จะเป็นพิซซ่า หรือไม่ก็ซูชิ แต่ช่วงนี้คนใช้บริการ Uber Eats ก็เพิ่มมากขึ้น พนักงาน Uber Eats ก็เห็นได้มากขึ้นตามท้องถนนด้วย แม้ว่าผมจะยังไม่เคยใช้บริการก็ตาม
18 ล้างมือ
ล้างมือให้เป็นนิสัย พร้อมๆกับร้องเพลง Happy Birthday 2 รอบ เพื่อความสะอาดทุกซอกทุกมุม แม้แต่นักร้องนักแสดงชื่อดังอย่าง คิมุระ ทาคุยะ ได้โพสวิดีโอสาธิตการล้างมือไปพร้อมๆกับการร้องเพลงให้เราได้ดูกันด้วย
การฟื้นตัวหลังโควิด
เมื่อได้เห็นทั้ง 18 ข้อเริ่มหายไป หมายความว่าโควิดก็จะค่อยๆเริ่มหายไปเช่นกัน หลายพื้นที่ในญี่ปุ่นมีการยกเลิกการประกาศภาวะฉุกเฉินแล้ว ตอนนี้ก็หวังว่าโตเกียวก็ถูกยกเลิก และกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติในเร็ววัน ได้ออกจากบ้าน วิ่งแบบไม่ต้องสวมหน้ากาก ได้เที่ยวในญี่ปุ่น เที่ยวต่างประเทศ และได้กลับไปเยี่ยมบ้านที่เกาหลี! ถ้าโควิดหายเมื่อไหร่ผมไม่ไปหรอก Shin Okubo (Korean Town ในโตเกียว) จะกลับเกาหลีเป็นอย่างแรกเลย
COMMENT
FEATURED MEDIA
VIEW MOREMAP OF JAPAN
SEARCH BY REGION
LATEST
VIEW MOREEVENT CALENDAR
VIEW MOREMOST POPULAR
Tokyo Winter Recommendation: Don’t Miss Tokyo Mega Illumination, Japan’s #1 Light Show
ป้ายยาสินค้าน่าซื้อในร้านขายยาญี่ปุ่น | KOWA ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสำหรับคนยุคใหม่
Okinawa Family Road Trip: Japanese Glasses Shopping at San-A Urasoe West Coast PARCO CITY, Discount Coupons, & Okinawa Sightseeing with JINS