CONTENTS
ชาวประมงและธุรกิจประมงของจังหวัดฟุกุชิมะ มีการตรวจสอบตามมาตรฐานความปลอดภัยอย่างเคร่งครัดและมากกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้อีกด้วย
ฟื้นธุรกิจประมงหลังแผ่นดินไหว
เหตุการณ์แผ่นดินไหวโทโฮคุ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2011 ตามมาด้วยภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะ เป็นเหตุการณ์ช็อคโลก ที่แม้กระทั่งในปัจจุบันยังเป็นบาดแผลลึกอยู่ในใจของหลายคน ภัยพิบัตินิวเคลียร์นั้นได้ทำลายฟาร์ม ไร่ สวน การประมง และอุตสาหกรรมอาหารของฟุกุชิมะ ไม่ว่าเมื่อก่อนโจบังโมโนจะเคยมีชื่อเสียงขนาดไหน หลังจากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นก็ทำให้ได้รับผลกระทบโดยตรง ก่อนหน้านี้ทีม Japankuru ได้เขียนบทความเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของอุตสาหกรรมประมงในฟุกุชิมะ โดยเฉพาะเมืองอิวากิและเมืองโซมะ ในพาร์ทที่ 3 และ 4 ของซีรี่ยส์โจบังโมโน ที่ คุณ Mitsunori Suzuki รองประธานสมาคมสหกรณ์การประมงอิวากิ และคุณ Kanji Tachiya ประธานสมาคมสหกรณ์ประมงโซมะฟุตาบะ ได้อธิบายถึงความมั่นใจที่พวกเขามีต่อโจบังโมโน แม้จะต้องเผชิญกับความเสียหายหลังเกิดภัยพิบัติในปี 2011
บริเวณชิโอเมะที่อยู่นอกชายฝั่งโจบัง (ตั้งแต่ชายฝั่งฟุกุชิมะยาวไปถึงอิบารากิ) เป็นจุดที่กระแสน้ำเย็นโอยาชิโอะและกระแสน้ำอุ่นคุโรชิโอะได้บรรจบกัน ซึ่งบางครั้งมีการเรียกบริเวณนี้ว่า ทะเลชิโอเมะ (潮目の海 ชิโอเมะ โนะ อุมิ) นอกจากจะสามารถจับปลาได้แล้ว บริเวณนี้ยังทำให้แพลงก์ตอนเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งกลายเป็นอาหารที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของปลา และเป็นแหล่งทำการประมงที่มีคุณภาพ ปลาที่จับได้จากชายฝั่งโจบัง จะตัวอวบอ้วน มัน และรสชาติดี เป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของเหล่าชาวประมงในฟุกุชิมะ อย่างไรก็ตามไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดเหตุกาณ์ที่ส่งผลต่อชีวิตของชาวประมงในท้องถิ่น เพราะสึนามิและแผ่นดินไหว ไม่เพียงแต่จะพลัดพรากคนที่รักและบ้านเรือนของพวกเขาไป แต่ข่าวลือเรื่องรังสีนั้นก็ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมประมงเข้าอย่างจัง แม้เหตุการณ์จะเป็นอย่างนั้น ชาวประมงก็ยังคงมุ่งมั่น กำหนดนโยบายใหม่ ร่วมมือกับรัฐบาลจังหวัดฟุกุชิมะ เพื่อให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับคืนมาอีกครั้ง ทำให้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พวกเขาก็ได้จัดตั้งปฏิบัติการทดสอบใหม่ ทำงานแบบช้าแต่ชัวร์ เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมการประมงพื้นบ้าน
ปฏิบัติการทดสอบ คืออะไร?
ปลาที่จับได้สดใหม่ทุกวัน
การประมงบริเวณชายฝั่งของฟุกุชิมะและอุตสาหกรรมประมงอวนลากนอกชายฝั่ง ต้องหยุดออกหาปลาการหลังจากเหตุการณ์ภัยพิบัติอย่างไม่มีทางเลือก ตอนนี้เป็นเวลาเกือบ 10 ปีแล้ว หลังจากเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติขึ้น แต่ก็ยังมีการตรวจสอบหารังสีและเฝ้าระวังสิ่งมีชีวิตในท้องทะเล กว่า 60,000 ครั้ง ปลาและสัตว์ทะเลที่จับขึ้นมาได้ และได้รับการยืนยันว่าปลอดภัยสำหรับการบริโภค ตามมาตรฐานความปลอดภัยแห่งชาติที่รัฐบาลญี่ปุ่นกำหนด ในทางกลับกัน ข้อจำกัดต่างๆนั้นค่อยๆได้รับการผ่อนคลายทีละนิด โดยอนุญาตให้อุตสาหกรรมประมงขนาดเล็กและผู้ขายอาหารทะเล สามารถกลับมาทำงานได้ในระดับเล็กๆ (เฉพาะสายพันธุ์ที่มีมาตรฐานความปลอดภัยเกินมาตรฐาน) และมีการจับตาดูปฏิกิริยาของตลาดตลอดเวลา กระบวนการและนโยบายการตรวจสอบนี้ คือ”การปฏิบัติการทดสอบ” ของจังหวัดฟุกุชิมะ และจากข้อมูลที่ได้เผยแพร่โดยสำนักงานจังหวัดฟุกุชิมะ วันที่ 26 มีนาคม 2020 ได้ยืนยันว่า ปลาและอาหารทะเล 231 ชนิด มีความปลอดภัย
"monitoring test" หมายถึง การตรวจสอบรังสี ตามมาตรฐานของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งหมายความว่า ไม่มีปัญหาในการขนส่งปลาหรืออาหารทะเลที่ตรงตามมาตรฐาน เพื่อออกสู่ตลาด อย่างไรก็ตาม เมืองโซมะ เมืองอิวากิ และการประมงของจังหวัดฟุกุชิมะ ได้ทำการทดสอบรังสีเพิ่มเติมเองทุกวัน เพื่อให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจมากขึ้นในเรื่องของความปลอดภัย ทำให้ปลาและอาหารทะเลจากที่นี่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงกว่าที่รัฐบาลญี่ปุ่นกำหนดไว้ การทดสอบเพิ่มเติมนี้เรียกว่า "screening test" ซึ่งชาวฟุกุชิมะต้องการให้คนภายนอกได้รับรู้ว่า กว่าที่โจบังโมโนจะออกสู่ตลาดได้นั้น ต้องผ่านขั้นตอนทดสอบความปลอดภัยทั้งสองอย่าง
การตรวจสอบเพื่อรับประกันความปลอดภัย
ศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรฟุกุชิมะ โคริยามะ จังหวัดฟุกุชิมะ
ศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรฟุกุชิมะมีบทบาทสำคัญในการประกันความปลอดภัยของอุตสาหกรรมการเกษตร การป่าไม้ และการประมงของฟุกุชิมะ โดยทำการตรวจสอบรังสีในสินค้าทางการเกษตรและอาหารทะเลของจังหวัด อาจเรียกที่แห่งนี้ได้ว่าเป็นกุญแจสำคัญในการฟื้นฟูอุตสาหกรรมต่างๆในฟุกุชิมะเลยก็ว่าได้ เพราะโจบังโมโนเป็นหนึ่งในสินค้าท้องถิ่นที่มีการทดสอบที่นี่ และมีการกำหนดว่าปลาชนิดใดปลอดภัยที่สามารถจับได้ หรือชนิดใดที่ต้องปล่อยไป
แผนกวิเคราะห์รังสี ศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรฟุกุชิมะ – ตารางการทดสอบรังสีและติดตามผล
การวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรฟุกุชิมะ อยู่ในเมืองโคริยามะ ซึ่งทำการทดสอบและติดตามสินค้าทางการเกษตรและอาหารทะเลของจังหวัดฟุกุชิมะเป็นรอบๆ มีทั้ง ผัก ผลไม้ อาหารทะเล พืชป่าที่กินได้ เห็ด น้ำผึ้ง ธัญพืช ผลิตภัณฑ์จากนม เนื้อ ไข่ และอาหารสัตว์ ทำให้มีหลายรายการที่ต้องรอตรวจสอบ บางครั้งทางศูนย์ต้องส่งผลิตภัณฑ์บางส่วน เช่น อาหารแปรรูปและอาหารสัตว์ ไปยังห้องปฏิบัติการอื่น ที่มีอุปกรณ์ทดสอบ นอกเหนือจากการเผยแพร่การทดสอบให้ผู้เชี่ยวชาญโดยตรงแล้ว เรายังสามารถดูผลการทดสอบเองได้บนเว็บไซต์ของจังหวัดฟุกุชิมะได้ตลอดเวลา
นักวิจัยค่อยๆหั่นปลา เพื่อนำไปทดสอบ
ทีมงาน Japankuru มีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมการทดสอบปลาโจบังโมโน และกระบวนการตรวจสอบที่ศูนย์ ก่อนที่เราจะเข้าไปยังแล็บ สตาฟก็ได้ใช้อุปกรณ์พิเศษในการตรวจสอบรังสี รวมทั้งรายละเอียดเล็กๆ เสื้อผ้าหรือเส้นผม ที่อาจส่งผลต่อการทดสอบได้ ในทำนองเดียวกัน เมื่อผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอาหารทะเลถูกส่งไปยังศูนย์ ทุกอย่างต้องมีการตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี เมื่อสินค้ามาถึงศูนย์เทคโนโลยีการเกษตร ก็ต้องค่อยๆนำออกจากห่อ ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปใส่ในภาชนะที่ทำขึ้นพิเศษ ชั่งน้ำหนัก จากนั้นจึงนำไปใส่ในเครื่องตรวจจับเซมิคอนดักเตอร์ที่ใช้เจอร์เมเนียมที่มีความแม่นยำสูงเพื่อวัดระดับรังสี จากนั้นนักวิจัยจะวิเคราะห์ผลและนำไปเผยแพร่สู่สาธารณะ
ปลาที่หั่นแล้วถูกบรรจุในภาชนะพิเศษ ที่มีการปิดผนึกอย่างดี และมีการติดฉลาก QR code กำกับไว้ ทำให้สามารถติดตามข้อมูลได้จาก QR Code
เครื่องตรวจจับสารกึ่งตัวนำที่ใช้เจอร์เมเนียม
ตอนนี้ห้องปฏิบัติการของศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรฟุกุชิมะมีเครื่องตรวจจับสารกึ่งตัวนำที่ใช้เจอร์เมเนี่ยม 11 เครื่อง พร้อมกับนักวิจัยอีก 9 ท่าน ตัวเครื่องได้รับการทดสอบเป็นระยะ โดยสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ เพื่อรักษาความถูกต้องของการทดสอบแต่ละครั้ง ในปี 2017 ห้องปฏิบัติการได้อออกระบบ QR Code ที่จะลงทะเบียนข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในกระบวนการทดสอบ และด้วยมาตรการเหล่านี้ ทำให้ประสิทธิภาพการทดสอบทางรังสีของห้องปฏิบัติการเพิ่มขึ้น โดยขณะนี้มีการทดสอบเฉลี่ยประมาณ 150 ครั้งต่อวัน
ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2011 เป็นต้นมา มีตัวอย่างที่ตรวจไปแล้วจำนวนกว่า 230,000 ตัวอย่าง
คุณ Hitoshi Kusano หัวหน้านักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรฟุกุชิมะ กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอาหารทะเลส่วนใหญ่ที่ทดสอบในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อยู่ในมาตรฐานความปลอดภัยจากรังสีที่เป็นที่ยอมรับ มาตรฐานความปลอดภัยแห่งชาติ สำหรับอาหารทะเลอยู่ต่ำกว่า 100Bq / kg และดูเหมือนว่าไม่มีตัวอย่างปลาทะเลใดเกินขีดจำกัดดังกล่าว นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2015 เป็นต้นมา เราทุกคนสามารถไปเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการตรวจสอบที่ศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรฟุกุชิมะ และให้ผู้เชี่ยวชาญอธิบายขั้นตอนการทดสอบโดยละเอียดเพื่อดูผลลัพธ์เหล่านี้ได้ด้วยตนเอง (แต่ต้องจองล่วงหน้านะ)
การคัดกรอง (Screening)
ศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรฟุกุชิมะเป็นหน่วยงานของรัฐ และการทดสอบการเฝ้าติดตามเกิดจากกฎหมายสุขาภิบาลอาหารของญี่ปุ่น แต่สมาคมสหกรณ์การประมงแห่งฟุกุชิมะ (ซึ่งจัดการอุตสาหกรรมประมงของฟุกุชิมะ) มีแนวทางของตนเองในการรับรองความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ทางทะเลและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ในตลาดปลาที่เมืองอิวากิและเมืองโซมะ สหพันธ์จะทำการทดสอบตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในทะเลของตนเองในระบบที่เรียกว่าการตรวจคัดกรอง ทุกๆวันกระบวนการคัดกรองจะรวบรวมตัวอย่างจากปลาและอาหารทะเลทุกชนิดที่จับได้ในเช้าวันนั้นและทำการทดสอบเพื่อความปลอดภัย
การเตรียมตัวอย่างปลาเพื่อตรวจคัดกรองที่ห้องทดสอบของตลาดปลาโอนะฮามะ
กฎหมายความปลอดภัยด้านอาหารของญี่ปุ่น กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับสารกัมมันตรังสีซีเซียมในผลิตภัณฑ์อาหารที่ 100Bq / kg หรือน้อยกว่า แต่การประมงของ Fukushima ยังคงรักษามาตรฐานที่เข้มงวดกว่ามาก เพื่อให้ผู้บริโภคอุ่นใจมากขึ้น โดยอนุญาตเฉพาะปลาและอาหารทะเลให้มีปริมาณสูงสุดอยู่ที่ 50Bq / kg นั่นหมายความว่าไม่มีอาหารทะเลของฟุกุชิมะออกสู่ตลาด ในปริมาณต่ำกว่า 50Bq / kg ซึ่งมีรังสีน้อยกว่าขีดจำกัดด้านความปลอดภัยของรัฐบาลญี่ปุ่น
ที่น่าสนใจก็คือ หากลองเปรียบเทียบมาตรฐานแห่งชาติของญี่ปุ่นที่ระดับ 100Bq / kg กับกฎหมายความปลอดภัยด้านอาหารของประเทศอื่น ๆ จะเห็นว่ามันเข้มงวดกว่าประเทศอื่นๆในโลก ตัวอย่างเช่น ขีดจำกัดด้านความปลอดภัยของ Codex Alimentarius (ชุดของมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลซึ่งกำหนดโดย UN และ WHO) คือ 1,000Bq / kg มาตรฐานของสหรัฐอเมริกาคือ 1200Bq / kg และ EU อนุญาตให้ได้ถึง 1250Bq / kg จากข้อมูลดังกล่าว เห็นได้ชัดว่าชาวประมงของฟุกุชิมะมุ่งเป้าไปที่มาตรฐานที่เข้มงวดอย่างยิ่ง และผลิตภัณฑ์จากทะเลของที่นี่ก็มีความปลอดภัยมาก
ห้องปฏิบัติการของตลาดปลาโอนะฮามะ มีเครื่องสำหรับทดสอบตัวอย่าง 9 เครื่อง
ตลาดปลาโอนะฮามะ เมืองอิวากิ และตลาดปลาฮารากามะ เมืองโซมะ มีห้องทดสอบของตนเอง ซึ่งพวกเขาทำการสุ่มตัวอย่างประจำวันและทดสอบปลาแต่ละชนิดที่จับได้ในวันนั้น ห้องทดสอบเหล่านี้มีเครื่องทดสอบไม่มากเท่ากับห้องทดลองของศูนย์เทคโนโลยีการเกษตร แต่เพื่อเพิ่มทั้งความเร็วและความแม่นยำจึงต้องซื้อเครื่องจักรใหม่เป็นระยะ ๆ และซ่อมแซมเครื่องที่เก่า ขณะนี้ตลาดปลาโอนะฮามะมีเครื่องจักรเก้าเครื่องใน เป็นคนละรุ่นกันทั้งหมด เครื่องที่เก่าแก่ที่สุดใช้เวลาประมาณ 40 นาทีในการประมวลผลตัวอย่างทั้งหมด ส่วนเครื่องใหม่สามารถทำงานได้ในเวลาเพียง 5 นาที
ในกรณีที่ตัวอย่างมีน้ำหนักเกิน 50Bq / kg จะหยุดขายปลาชนิดนั้นทั้งหมด และตัวอย่างจะถูกส่งไปยังศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเล เพื่อการทดสอบที่แม่นยำและเจาะลึกยิ่งขึ้น หากการทดสอบขั้นที่สองพิสูจน์ได้ว่าตัวอย่างมีน้ำหนักเกิน 50Bq / kg จริง ปลาชนิดนั้นจะถูกเรียกคืนทั้งหมดและห้ามเรือประมงจับปลาชนิดนั้นชั่วคราว ในทางปฏิบัติจริง กรณีของปลาตาเดียวที่จับได้ในอิวากิ เดือนกรกฎาคม 2018 พบว่ามีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีซีเซียม 59Bq / kg ซึ่งอยู่ในระดับของมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่กำหนดโดยรัฐบาลญี่ปุ่น แต่เนื่องจากมันเกิน 50Bq / kg ระดับมาตรฐานที่กำหนดโดยการประมงเอง การขายปลาตาเดียวก็ต้องหยุดลงเป็นเวลาหนึ่งเดือน หลังจากเหตุการณ์นั้นปลาตาเดียวในพื้นที่ ได้รับการสุ่มตัวอย่างและทดสอบอย่างต่อเนื่อง และการจับปลาตาเดียวจะกลับมาวางขายได้ปกติ ก็ต่อเมื่อตัวอย่างลดลงต่ำกว่า 50Bq / kg อีกครั้ง
ห้องทดสอบที่ตลาดปลาโซมะฮารากามะ
ที่ชาวประมงในพื้นที่มีความมั่นใจในปลาที่พวกเขาจับได้นั้น ก็เป็นเพราะมาตรฐานที่เข้มงวด และในขณะที่การคัดกรองดำเนินไปทุกวัน ก็แสดงเห็นได้ชัดว่าชาวประมงของฟุกุชิมะกำลังทำงานอย่างหนัก เพื่อให้แน่ใจว่าผู้บริโภคจะไม่สูญเสียศรัทธาในโจบังโมโนของพวกเขาอีกแล้ว หากมองไปในแต่ละจังหวัดของญี่ปุ่น จะไม่พบจังหวัดอื่นที่มีระบบการทดสอบแบบนี้ และข้อมูลที่พิสูจน์ได้นั้นมันจะทำหน้าที่ของมันเอง คุณ Maeda จากสมาคมสหกรณ์การประมงอวนลากโอนะฮามะได้กล่าวว่า "ไม่ว่าคุณจะใส่ข้อมูลให้พวกเขามากแค่ไหนผู้คน 10% ก็ยังไม่ยอมรับ" พร้อมกับเสริมว่า "แต่เราต้องสู้กับผู้คนอีก 90% ที่ยินดีที่จะรับฟังสิ่งที่เรากำลังพูดออกไป ทุกวันนี้เราพยายามอย่างเต็มที่เพื่อสื่อสารถึงความตั้งใจของเรา พร้อมกับยังดำเนินการทดสอบอย่างเข้มงวดต่อไปเรื่อยๆ" เขาจบความคิดเห็นโดยกล่าวว่า ในความเป็นจริงแล้วในปีที่แล้วแทบไม่มีตัวอย่างที่ทดสอบ ที่มีการปนเปื้อนของรังสีที่ตรวจจับได้เลย
ความแตกต่างระหว่างการเฝ้าติดตามและการคัดกรอง
เมื่ออ่านถึงตรงนี้อาจจะยังงงๆว่า "การตรวจสอบ" (monitoring) ของจังหวัดฟุกุชิมะ และ "การคัดกรอง" (screening) ของการประมงแตกต่างกันอย่างไร
ในจังหวัดฟุกุชิมะมีโครงสร้างการทดสอบรังสี 2 แบบ ได้แก่ การตรวจติดตามการทดสอบ (monitoring testing) ที่ดำเนินการโดยรัฐบาลจังหวัด และการทดสอบคัดกรอง (screening testing) ที่ใช้ตัวอย่างจากการจับในแต่ละวันดำเนินการโดยองค์กรประมง
[ความเหมือน]
กระบวนการทั้งสองจะวัดรังสีสิ่งมีชีวิตในทะเล และตัดสินความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ทางทะเลโดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ โดยขั้นตอนการทดสอบขั้นพื้นฐานนี้จะเหมือนกัน ทั้งในการเฝ้าติดตาม (monitoring) และการคัดกรอง (screening)
[ความแตกต่าง]
●องค์กร
การเฝ้าติดตาม (monitoring): ดำเนินการโดยจังหวัดฟุกุชิมะ ตามมาตรฐานของรัฐบาลญี่ปุ่น
การคัดกรอง (screening): ดำเนินการโดยสมาคมการประมงที่เป็นอิสระและไม่ใช่ภาครัฐ
●มาตรฐาน
การเฝ้าติดตาม (monitoring): มาตรฐานความปลอดภัยแห่งชาติ (100 Bq / kg) ซึ่งกำหนดขึ้นโดยคำนึงถึงผู้อยู่อาศัยทุกวัย
การคัดกรอง (screening): กำหนดมาตรฐานที่เข้มงวดขึ้น (50Bq / kg) เพื่อให้ผู้บริโภคอุ่นใจมากขึ้น
●หน่วยงาน
การเฝ้าติดตาม (monitoring): ศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรฟุกุชิมะ
การคัดกรอง (screening): สมาคมสหกรณ์การประมงฟุกุชิมะ (ตลาดปลาโอนะฮะมะ และตลาดปลาโซมะฮารากามะ)
●ความถี่
การเฝ้าติดตาม (monitoring): สัปดาห์ละสองครั้ง
การคัดกรอง (screening): ทุกวัน ตามวันทำการของการประมง
ให้โจบังโมโนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน
ป้าย “โจบังโมโน” ที่ Shuen-teru ร้านอาหารและบาร์ ในเมืองอิวากิ
หลายปีที่ผ่านมานี้ ต้องขอบคุณการทำงานอย่างหนัก ความร่วมมือของรัฐบาลและชาวประมงของฟุกุชิมะในที่สุดอาหารทะเลของฟุกุชิมะก็หาทางกลับเข้าสู่ชีวิต (และอาหาร) ของคนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐและสมาคมการประมง เผยแพร่ผลการทดสอบของพวกเขา เช่น สถาบันวิจัยทรัพยากรประมง จังหวัดฟุกุชิมะ มีการเชิญนักเรียนในพื้นที่ องค์กรชุมชน และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมสัมมนา และเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับรังสีสู่สาธารณะ ความพยายามมากมายเหล่านี้ กำลังทำให้ความเชื่อมั่นในโจบังโมโนของผู้คนกลับคืนมาอีกครั้ง
เมนูจากโจบังโมโน
ในปี 2017 กรมวิชาการเกษตร ป่าไม้ และผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของเมืองอิวากิ ได้จัดตั้งเว็บไซต์ "Joban-mono" เพื่อแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับภูมิภาคและปลาในท้องถิ่น สูตรอาหารยอดนิยม เคล็ดลับการทำอาหาร และอาหารโจบังโมโนทุกประเภท นอกจากนี้ยังกำหนดให้วันที่ 7 ของทุกเดือน เป็น “วันปลา” (魚の日) โดยได้รับการส่งเสริมและความร่วมมือจากตลาดปลา ร้านอาหาร บาร์ และร้านขายของกระจุกกระจิกในท้องถิ่น เมื่อทีม Japankuru ไปเยี่ยมเมืองอิวากิ เราแวะที่ Shuen-teru ซึ่งเป็นบาร์และร้านอาหารในบรรยากาศสบาย ๆ และที่นี่ยังเป็นส่วนหนึ่งของการโปรโมตด้วยเช่นกัน ― ป้ายเล็ก ๆ 2 อัน ตั้งอยู่บนชั้น พร้อมกับข้อความ “โจบังโมโน” และ “วันปลา”
ตลาดปลาโอคาวะ อุเท็น ย่านโยสึคุระ เมืองอิวากิ ตั้งอยู่ใกล้ทะเล
ถ้าพูดถึงตลาดปลาที่ดังเรื่องโจบังโมโน ต้องเป็น ตลาดปลาโอคาวะ อุเท็น (Ookawa Uten) ในเมืองอิวากิ เพราะที่นี่ไม่เพียงแต่เป็นที่นิยมในหมู่คนท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังมีมาตั้งแต่ยุคเมจิ (ค.ศ. 1868-1912)) ร้านขายปลาและอาหารทะเลที่จับได้สด ๆ รวมถึงอาหารพร้อมทาน เช่น "อูนิโนะไคยากิ" (ウニの貝焼きไข่หอยเม่นในเปลือกหอย) และ "คัทสึโอะโนะวารายากิ" (カツオの藁焼きปลาทูน่าย่างฟาง ) อาหารเหล่านี้เป็นเมนูเด็ดประจำภูมิภาค ในช่วงเทศกาลหรือมีอีเวนท์ เราจะเห็นพนักงานมาย่างให้ดูกันที่หน้าร้านแบบสดๆ
ปลาทูน่าย่างฟาง ควันหอมๆ ชวนให้น้ำลายไหล
อูนิในเปลือกหอย เมนูดังของอิวากิ
ในการเดินทางครั้งนี้ เราได้เห็นผู้คนซื้อ ทำอาหาร และรับประทานอาหารทะเลท้องถิ่นหลากหลายชนิด ในขณะที่เราเดินผ่านตลาดปลาทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก โรงแรม ร้านอาหาร ทั่วทั้งอิวากิและโซมะ ทีม Japankuru สามารถบอกได้ว่าโจบังโมโนนั้นกลับมาพบเห็นได้ตามสถานที่ในชีวิตประจำวันของชาวบ้านในฟุกุชิมะอีกครั้ง สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นผลมาจากการทำงานอย่างหนักของชาวประมงในฟุกุชิมะและจังหวัดฟุกุชิมะตลอดระยะเวลาเกือบสิบปี
พ่อค้ากำลังเตรียมปลาทูน่าที่ตลาดปลาโอคาวะ อุเท็น
การประมูลปลาที่ตลาดปลาโซมะ ฮารากามะ
บทความครั้งนี้เรามุ่งเน้นไปที่ระบบการทดสอบที่ใช้ในการตรวจสอบระดับรังสี ในผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของฟุกุชิมะ ครั้งหน้าเราจะมาดูเพิ่มเติมที่ สถาบันวิจัยทรัพยากรประมง และงานวิจัยที่เกี่ยวกับน่านน้ำในมหาสมุทรและสิ่งมีชีวิตในทะเลของฟุกุชิมะ เตรียมติดตามข้อมูลเชิงลึก พร้อมทั้งสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอื่นๆอีกมากมาย
ติดตามข้อมูลข่าวสารส่งตรงจากญี่ปุ่นจาก Japankuru (เจแปนคุรุ) ได้ทาง Facebook และ Twitter ได้ทุกวัน
Details
NAME:ศูนย์เทคโนโลยีการเกษตร จังหวัดฟุกุชิมะ (農業総合センター)
COMMENT
FEATURED MEDIA
VIEW MORETokyo Shopping Spot Recommendation: New Balance Kichijoji #newbalance #newbalancekichijoji #newbalancejapan #japanesesneakerheads #shoppinginjapan #japantrip #도쿄여행 #도쿄쇼핑 #뉴발란스 #일본한정 #일본패션 #日本購物 #日本買衣服 #NB #日本時尚 #東京購物 #รองเท้าnewbalance #นิวบาลานซ์ #รองเท้าผ้าใบ #ช้อปปิ้ง #คิจิโจจิ #japankuru
See Kyoto Clearly With Your New Glasses #japankuru #kyoto #jins #교토여행 #진즈 #京都 #교토수족관 #가모가와 #kamogawa #kyotoaquarium
The First Japanese Converse Flagship: CONVERSE STORE HARAJUKU #japankkuru #conversejp_pr #conversejapan #harajuku #tokyotrip #converse #tokyoshopping #匡威 #帆布鞋 #東京購物 #原宿 #日本時尚 #일본쇼핑 #일본컨버스 #일본한정 #하라주쿠 #일본패션 #일본스트릿 #รองเท้าconverse #รองเท้าผ้าใบ #ช้อปปิ้ง #ฮาราจูกุ #คอนเวิร์ส
Japanese Makeup Shopping • A Trip to Kamakura & Enoshima With Canmake’s Cool-Toned Summer Makeup #pr #canmake #enoshima #enoden #에노시마 #캔메이크 #japanesemakeup #japanesecosmetics
⚔️The Robot Restaurant is gone, but the Samurai Restaurant is here to take its place. Check it out, and don't forget your coupon! 🍣신주쿠의 명소 로봇 레스토랑이 사무라이 레스토랑으로 부활! 절찬 쿠폰 발급중 💃18歲以上才能入場的歌舞秀,和你想的不一樣!拿好優惠券去看看~ #tokyo #shinjuku #samurairestaurant #robotrestaurant #tokyotrip #도쿄여행 #신주쿠 #사무라이레스토랑 #이색체험 #할인이벤트 #歌舞伎町 #東京景點 #武士餐廳 #日本表演 #日本文化體驗 #japankuru #japantrip #japantravel #japanlovers #japan_of_insta
Japanese appliance & electronics shopping with our KOJIMA x BicCamera coupon! 用JAPANKURU的KOJIMA x BicCamera優惠券買這些正好❤️ 코지마 x 빅 카메라 쿠폰으로 일본 가전 제품 쇼핑하기 #pr #japankuru #japanshopping #kojima #biccamera #japaneseskincare #yaman #dji #osmopocket3 #skincaredevice #日本購物 #美容儀 #相機 #雅萌 #日本家電 #일본여행 #면세 #여행꿀팁 #일본쇼핑리스트 #쿠폰 #일본쇼핑 #일본브랜드 #할인 #코지마 #빅카메라 #japankurucoupon
Odaiba's DiverCity Tokyo Plaza is home to the famous real-size 20m-tall Unicorn Gundam, and the popular shopping center has even more Gundam on the inside! Check out the Gundam Base Tokyo on the 7th floor for shelves upon shelves of Gunpla, and the Gundam Base Tokyo Annex on the 2nd floor for cool anime merchandise. Both shops have tons of limited-edition items! #pr #odaiba #tokyo #tokyotrip #japantrip #japantravel #PR #divercity #divercitytokyoplaza #tokyoshopping #gundam #unicorngundam #gundambasetokyo #anime #otaku #gunpla #japankuru #오다이바 #다이바시티도쿄 #오다이바건담 #건담 #일본건담 #건프라 #건담베이스도쿄