CONTENTS
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2011 แผ่นดินไหวที่โทโฮคุทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ โจมตีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ ทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อมหาสมุทรนอกชายฝั่ง ในช่วงสิบปีนับจากนั้นรัฐบาลท้องถิ่นและชาวประมงของฟุกุชิมะได้ร่วมมือกัน เพื่อพยายามฟื้นฟู “ชิโอเมะ” แหล่งประมงที่มีชื่อเสียง โดยมีการทดสอบ การเฝ้าติดตาม การคัดกรอง และการวิจัยอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมการวิจัยในท้องถิ่นที่ศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเล
ทะเลในจังหวัดฟุกุชิมะปลอดภัยรึเปล่า? ไปฟังคำตอบจากศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเล
Misaki Park สถานที่ท่องเที่ยวริมชายฝั่งอิวากิ Marine Tower ที่สามารถมองเห็นได้ทั้งเมืองและมหาสมุทรแปซิฟิก
ในบทความซีรีส์ "โจบังโมโน" ก่อนหน้านี้ เราได้พูดถึงความปลอดภัยของปลาและอาหารทะเลอื่น ๆ ของฟุกุชิมะในปัจจุบัน และหวังว่าเราจะเล่าถึงการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสอบ และการทดสอบการคัดกรอง เพื่อรับรองความปลอดภัยของอาหารจากทั่วทั้งจังหวัด ด้วยการทำงานอย่างหนักของชาวประมงในฟุกุชิมะ ทำให้อุตสาหกรรมการประมงเติบโตขึ้นอีกครั้ง และผู้คนทั่วญี่ปุ่นก็กลับมามั่นใจใน โจบังโมโน อาหารทะเลอันโด่งดังของฟุกุชิมะอีกครั้ง
อย่างไรก็ตามจังหวัดฟุกุชิมะไม่ได้มองแค่ระดับรังสีในปลาและอาหารทะเลเท่านั้น แต่จังหวัดกำลังติดตามและตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของระดับรังสีในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง พร้อมกับสถานะของสภาพแวดล้อมใต้ทะเลในพื้นที่ รวมทั้งน้ำทะเลและตะกอนบนพื้นทะเล การวิจัยทางวิทยาศาสตร์และข้อมูลที่เป็นผลลัพธ์นี้เป็นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับรายงานว่า มหาสมุทรนอกชายฝั่งฟุกุชิมะได้กลับมาปลอดภัย ในช่วงหลายปีหลังภัยพิบัตินิวเคลียร์ และผลทางวิทยาศาสตร์เหล่านี้ยังเชื่อมโยงกับการฟื้นฟูธุรกิจประมงของฟุกุชิมะ งานวิจัยนี้และนักวิทยาศาสตร์ที่ดำเนินการวิจัยนี้ อยู่ที่ศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเล ประจำจังหวัดฟุกุชิมะ ซึ่งอยู่ถัดจากสวนมิซากิในเมืองอิวากิ
ศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเล ประจำจังหวัดฟุกุชิมะ
ในปี 2018 ศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเลประจำจังหวัดฟุกุชิมะ มีการการปรับโครงสร้างและเปลี่ยนชื่อ จนในปี 2019 ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่เป็นศูนย์กลาง โดยให้ความสำคัญกับการวิจัยทางรังสีมากขึ้น ซึ่งสถานที่แห่งนี้เป็นหัวใจหลักของการวิจัยและทดสอบด้านการประมงของจังหวัดฟุกุชิมะร่วมกับสถาบันต่างๆ เช่น สถาบันวิจัยทรัพยากรประมงของโซมะ และสถานีทดลองการประมงน้ำจืดประจำจังหวัดฟุกุชิมะในอินะวะชิโระ ซึ่งล้วนศึกษาสถานะปัจจุบันของน่านน้ำในมหาสมุทร แม่น้ำ และทะเลสาบซึ่งมีบทบาทสำคัญในโครงการของฟุกุชิมะในการฟื้นฟูอุตสาหกรรมประมงท้องถิ่น
ศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเลแบ่งออกเป็นสามแผนก โดยมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมการประมงทางทะเลสภาพแวดล้อมพื้นที่ตกปลาและการวิจัยทางรังสี มุ่งเน้นไปที่โจบังโมโน ตอนที่ Japankuru เยี่ยมชมศูนย์ เราได้ไปที่แผนกวิจัยกัมมันตภาพรังสี แผนกนี้ตรวจสอบ และศึกษาวัสดุกัมมันตภาพรังสี ที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการประมงและสภาพแวดล้อมทางทะเลในท้องถิ่น ความเชื่อมโยงอื่นๆ ที่สามารถพบได้ระหว่างการแผ่รังสีและนิเวศวิทยาหรือการกระจายของสิ่งมีชีวิตในทะเลในท้องถิ่น
การทดสอบรังสีของสิ่งมีชีวิตในทะเล (Monitoring)
เครื่องตรวจจับสารกึ่งตัวนำ Germanium-Based ของศูนย์วิจัย
ในบทความก่อนหน้านี้ที่เกี่ยวกับการตรวจสอบและการทดสอบการคัดกรอง เราได้ดำเนินการทั้งหมดที่ศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรฟุกุชิมะ เพื่อตรวจสอบผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและทางทะเล นักวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเลประจำจังหวัดฟุกุชิมะ ทำการเก็บตัวอย่างและเตรียมการสำหรับการตรวจติดตามการทดสอบของฟุกุชิมะ พร้อมกับการวิเคราะห์ข้อมูลที่มาจากการทดสอบเดียวกัน ผลและการวิเคราะห์ที่รวบรวมไว้ที่ศูนย์นี้ ใช้สำหรับการวิจัยเกี่ยวกับรังสีในปลาที่จับได้ในบริเวณชายฝั่งของฟุกุชิมะ (ชายฝั่งซันริคุ) และยังใช้เพื่อระบุความผิดปกติที่สำคัญที่อาจเกิดขึ้นในภูมิภาคอื่นที่อยู่ตามแนวชายฝั่ง
ในการวัดและทดสอบรังสี ศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเลติดตั้งเครื่องจักรที่มีความแม่นยำสูง และศูนย์นี้มีเรือวิจัยที่สำรวจสภาพแวดล้อมทางทะเลในท้องถิ่นและตรวจสอบพื้นที่ทำการประมง ศูนย์นี้ไม่เพียงรับตัวอย่างปลาจากเรือประมงเท่านั้น แต่ยังใช้เรือวิจัยเพื่อดึงข้อมูลตัวอย่างสำหรับการตรวจสอบการทดสอบและการวิจัยอีกด้วย
กราฟแสดงปอร์เซ็นต์ของตัวอย่างที่เกินมาตรฐานแห่งชาติ (100Bq/kg) และ ตัวอย่างที่ตรวจไม่พบรังสี ต่อปี
สีแดง: เปอร์เซ็นต์ของตัวอย่างที่เกิน 100Bq/kg
สีน้ำเงิน: เปอร์เซ็นต์ของตัวอย่างที่ตรวจไม่พบรังสี
ผลการติดตามจากศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเลประจำจังหวัดฟุกุชิมะ และศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรฟุกุชิมะ พร้อมด้วยข้อมูลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง จะถูกรวบรวมและเผยแพร่สู่สาธารณะในรูปแบบของการบรรยายและเผยแพร่บนเว็บไซต์ของจังหวัดฟุกุชิมะ และมีกราฟที่เข้าใจง่าย ในระหว่างการเยี่ยมชมของเรา Kyoichi Kamiyama หัวหน้าแผนกวิจัยกัมมันตภาพรังสี ได้อธิบายงานที่พวกเขาทำโดยใช้กราฟและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่างๆ รวมถึงกราฟที่แสดงด้านบน หลังจากแผ่นดินไหวที่โทโฮคุ บรรดาสัตว์ทะเลส่วนใหญ่ที่ถูกจับนอกชายฝั่งฟุกุชิมะแสดงให้เห็นว่าระดับรังสีเกินมาตรฐานความปลอดภัยของญี่ปุ่น (100Bq/kg) ซึ่งมากกกว่า 90% ของตัวอย่างที่ทดสอบ แต่เมื่อเวลาผ่านไประดับรังสีและจำนวนตัวอย่างที่แสดงผลมากกว่า 100Bq/kg ก็ลดลง ตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2015 ความเข้มข้นของสารกัมมันตรังสีในตัวอย่างปลาลดลงต่ำกว่า 100Bq/kg และตั้งแต่ปี 2019 99.8% ของตัวอย่างที่ทดสอบมีกัมมันตภาพรังสีน้อยมากผลการทดสอบกลับมาเป็น "ตรวจไม่พบ"
การติดตามและตรวจสอบปริมาณรังสีในน้ำทะเลและพื้นทะเล
ตัวอย่างตะกอนที่ศูนย์วิจัย
ทะเลเป็นระบบนิเวศขนาดใหญ่ ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตทั้งขนาดเล็ก เช่น แพลงก์ตอน และสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ เช่น ปลา เชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด ที่ศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเล ไม่เพียงแต่ตรวจสอบสิ่งมีชีวิตในทะเลขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ยังทำการวิจัยและศึกษาสภาพแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นอาศัยอยู่ด้วย อิวากิมารุเป็นเรือวิจัยที่ดูแลโดยศูนย์ มีการออกทะเลเป็นประจำ เพื่อเก็บตัวอย่างตะกอนน้ำทะเลและพื้นทะเล เพื่อนำกลับไปที่ห้องแล็บและวิเคราะห์
เครื่องเก็บตัวอย่างพื้นทะเลของเรืออิวากิมารุ
ตามข้อมูลของศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเล ความเข้มข้นของสารกัมมันตรังสีในน้ำทะเลในท้องถิ่นมีการลดลงอย่างรวดเร็วหลังภัยพิบัตินิวเคลียร์ และตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2012 มีปริมาณน้อยกว่า 2 ปีหลังจากที่สารกัมมันตรังสีถูกปล่อยออกมา มีระดับความเข้มข้นของกัมมันตรังสีซีเซียม -137 น้ำทะเลเก็บจากชายฝั่งฟุกุชิมะที่วัดได้ต่ำกว่า 1Bq/L เมื่อพูดถึงตะกอนพื้นทะเลนักวิจัยรู้แล้วก่อนเกิดภัยพิบัติว่า ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลมากนัก แต่เมื่อพบสารกัมมันตภาพรังสีที่มีความเข้มข้นสูงในตะกอนพื้นทะเลหลังจากเหตุการณ์ระเบิดพวกเขาเริ่มมีการตรวจสอบกัน พวกเขาพบว่าเมื่อเวลาผ่านไปความเข้มข้นของสารกัมมันตภาพรังสีในตะกอนพื้นทะเลก็ค่อยๆน้อยลงเช่นกัน
เครื่องวิเคราะห์ขนาดอนุภาคการเลี้ยวเบนของเลเซอร์ (Laser Diffraction Particle Size Analyzer) ที่ศูนย์วิจัย
งานวิจัยข้างต้นเกี่ยวกับรังสีในสิ่งแวดล้อมทางทะเล ไม่ใช่งานวิจัยเดียวที่ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเล พวกเขายังทำการวิจัยเกี่ยวกับนิเวศวิทยาของปลาในน่านน้ำชายฝั่งของฟุกุชิมะ และศึกษาสภาพของอุตสาหกรรมการประมงพร้อมกับการวัดอุณหภูมิและความเค็มของน้ำทะเลและอื่น ๆ และการวิจัยก็ไม่ใช่ทั้งหมดที่ทำเช่นกัน หน้าที่ของศูนย์วิจัยมีทั้ง การสื่อสารกับคนที่ทำงานบนเรือประมงของฟุกุชิมะ แลกเปลี่ยนข้อมูลและทำการวิจัยและพัฒนาระบบและเทคโนโลยีที่อุตสาหกรรมประมงใช้
สิ่งที่ขาดไม่ได้ในงานนี้คือเรือวิจัยการประมงอิวากิมารุ ดังนั้นทีม Japankuru จึงกระโดดลงเรืออิวากิมารุ เรือที่ไม่ใช่แค่เรือประมงธรรมดา แต่เป็นหัวใจสำคัญของโครงการฟื้นฟูการประมงฟุกุชิมะ
อิวากิมารุ เรือวิจัยการประมง ศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเล
อิวากิมารุ
อิวากิมารุสีขาวสะอาด สดใสราวแสงระยิบระยับภายใต้ท้องฟ้าสีครามที่ท่าเรือโอนะฮามะ ที่ซึ่งเรือจอดอยู่เมื่อไม่ได้ใช้งาน เรืออิวากิมารุลำนี้เป็นรุ่น ที่ 9 เริ่มใช้งานตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงปี 2014 หลังจากที่เรืออิวากิมารุรุ่นก่อนถูกทิ้ง จากผลพวงของเหตุการณ์แผ่นดินไหวในโทโฮคุและสึนามิ ในปี 2011 เรืออิวากิ รุ่นที่ 9 ได้สืบทอดจุดประสงค์เดียวกันกับรุ่นก่อน มีการติดตั้งอุปกรณ์สังเกตการณ์ สำหรับเก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในทะเล และมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการสุ่มตัวอย่างหาความเข้มข้นของสารกัมมันตรังสีในน้ำทะเลและตะกอนพื้นทะเล ซึ่งล้วนมีส่วนช่วยในฟื้นฟูการประมงของฟุกุชิมะ
อวนลาก
หากเมื่อเทียบกับรุ่นก่อน อิวากิมารุลำนี้นี้มีภารกิจที่สำคัญยิ่งกว่า เพราะเรือไม่เพียงแค่สำรวจสภาพแวดล้อมทางทะเลและทรัพยากรประมง แต่ยังตรวจสอบรังสีในกับสิ่งมีชีวิตในทะเลและสภาพแวดล้อมว่าเป็นอย่างไรหลังจากเกิดภัยพิบัติในปี 2011 บนเรืออิวากิมารุมีอวนหลากหลายแบบสำหรับพื้นที่ที่แตกต่างกันไปของทะเลอ ดังนั้นการเก็บตัวอย่างจากส่วนลึกในมหาสมุทรจึงไม่มีปัญหา นอกจากนี้ยังมีการเก็บตัวอย่างตะกอนน้ำทะเลและพื้นทะเลทุกวัน จากจุดตรวจสอบหลายแห่ง
สะพานเดินเรือ
ข้อมูลทุกอย่างจะแสดงอยู่บนหน้าจอ สัญญาณของเซ็นเซอร์จำนวนมากบนเรือ ตั้งแต่การสแกนเรดาร์และโซนาร์ไปจนถึง GPS และหน้าจอที่แสดงตำแหน่งของฝูงปลา CTD บนเรืออิวากิมารุ ตรวจจับความเค็มอุณหภูมิและความลึก ซึ่งจะแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล และส่งไปยังคอมพิวเตอร์ของเรือผ่านสายเคเบิล ทำให้นักวิจัยบนเรือสามารถสังเกตน่านน้ำในทะเลได้ดีขึ้น CTD ยังมาพร้อมกับขวดเก็บตัวอย่างสำหรับเก็บน้ำทะเลซึ่งจะถูกนำกลับไปที่ห้องปฏิบัติการเพื่อการตรวจสอบเพิ่มเติม
ใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น
คุณ Gyo Kawata รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเล จังหวัดฟุกุชิมะ
ในตอนท้ายของการสัมภาษณ์รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเล จังหวัดฟุกุชิมะ คุณ Gyo Kawata เขาบอกกับเราว่า "การตรวจติดตามการฉายรังสีเป็นเรื่องสำคัญ แต่ก็ยากที่จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้คนเพียงแค่รวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเราการสื่อสารโดยใช้ข้อมูลเหล่านี้เป็นคำถามที่ตอบยาก" ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สามารถใช้เพื่อแสดงภาพรังสีซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ข้อมูลดิบเพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถที่จะทำให้คนเปลี่ยนความคิดได้ สิ่งที่สำคัญคือการใช้ข้อมูลเพื่อโน้มน้าวใจผู้คนและช่วยให้พวกเขาเข้าใจความหมาย ดังที่คุณ Kamiyama หัวหน้าแผนกกัมมันตภาพรังสีอธิบายให้เราฟังว่า 99.8% ของผลการทดสอบการเฝ้าติดตาม ฟุกุชิมะนั้นได้ผลเป็น "ตรวจไม่พบสารกัมมันตรังสี" ซึ่งเป็นสถิติที่สำคัญ คุณ Kawata ยืนยันว่าจะยังคงติดตามเรื่องรังสีอย่างต่อเนื่องและการเผยแพร่ผลลัพธ์เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญมาก
ศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเลประจำจังหวัดฟุกุชิมะดำเนินการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้คนสามารถเพลิดเพลินกับโจบังโมโนที่มีชื่อเสียงของฟุกุชิมะได้โดยไม่ต้องกังวล
จากแผนการของศูนย์วิจัยในการฟื้นฟูการประมงของฟุกุชิมะ คุณ Kawata อธิบายว่าการปกป้องและจัดการทรัพยากรทางทะเลในท้องถิ่น การหลีกเลี่ยงการจับปลามากเกินไป และการเฝ้าติดตามรังสีเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลจากคนสู่คน ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะเป็นชาวประมงหรือผู้บริโภคในชีวิตประจำวัน คุณ Kawata ยังกล่าวอีกว่าเขาหวังที่จะนำเสนอเทคโนโลยี ICT และเครื่องจักรสำหรับวัดความสดของปลา และปริมาณไขมันในห้องปฏิบัติการ โดยการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวอาจช่วยให้ผู้คนเข้าใจการประมงของฟุกุชิมะได้ลึกซึ้งขึ้น “นี่คือความฝันเล็ก ๆ ของเราที่เราหวังว่าจะทำให้เป็นจริง” เขาอธิบาย "การแสดงภาพข้อมูลช่วยให้ผู้บริโภคเข้ามาได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเราหวังว่าจะได้งบประมาณที่มั่นคงเพื่อนำแผนของเราไปใช้จริง" เขากล่าวพร้อมกับรอยยิ้มที่ดูตื่นเต้น
ศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเลประจำจังหวัดฟุกุชิมะ และอิวากิมารุไม่เพียงแต่รวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการประมงและสภาพแวดล้อมทางทะเลของฟุกุชิมะเท่านั้น นักวิจัยยังมีความกระตือรือร้นในงานของพวกเขา ในการช่วยปกป้องและรักษาท้องทะเลของฟุกุชิมะ รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางทะเล พวกเขาตั้งใจพูดถึงรายละเอียดการวิจัยของเขา เพื่อสื่อสารงานสำคัญของพวกเขาให้ทั่วโลกได้รับรู้ และพวกเขายังทำให้สมาชิกทุกคนในทีม Japankuru เข้าใจเรื่องราวต่างๆ ได้ดีขึ้นก่อนที่เราจะออกมาจากศูนย์วิจัย
ในบทความถัดไปของซีรีส์โจบังโมโน เราจะพาไปดูกลุ่มนักวิจัยกลุ่มอื่นที่ทำงานเพื่อจัดการโครงการต่างๆสำหรับอุตสาหกรรมประมงของฟุกุชิมะ ที่สถาบันวิจัยทรัพยากรประมงจังหวัดฟุกุชิมะในโซมะ การเลี้ยงปลาจะสามารถสนับสนุนการฟื้นฟูการประมงของฟุกุชิมะได้อย่างไร? หาข้อมูลเพิ่มเติมกันได้ในตอนที่ 8!
COMMENT
FEATURED MEDIA
VIEW MOREA Tokyo Winter Must-See: Tokyo Mega Illumination Event Period: November 2, 2024 ~ January 12, 2025 *Closed Nov 4~8, Dec 1~6, Dec 25~ Jan 1. End date may be subject to change. Hours: 16:30 – 21:00 (final admission 20:00) *Opening hours may vary depending on scheduled events or congestion, please check the official website for details. Directions: 2 min. walk from Tokyo Monorail Oikeibajo-Mae Station, 12 min. walk from Keikyu Tachiaigawa Station #japankuru #tokyowinter #tokyomegaillumination #megaillumination2024 #tokyocitykeiba #도쿄메가일루미네이션 #tokyotrip #oiracecourseillumination
Tokyo Shopping Spot Recommendation: New Balance Kichijoji #newbalance #newbalancekichijoji #newbalancejapan #japanesesneakerheads #shoppinginjapan #japantrip #도쿄여행 #도쿄쇼핑 #뉴발란스 #일본한정 #일본패션 #日本購物 #日本買衣服 #NB #日本時尚 #東京購物 #รองเท้าnewbalance #นิวบาลานซ์ #รองเท้าผ้าใบ #ช้อปปิ้ง #คิจิโจจิ #japankuru
See Kyoto Clearly With Your New Glasses #japankuru #kyoto #jins #교토여행 #진즈 #京都 #교토수족관 #가모가와 #kamogawa #kyotoaquarium
The First Japanese Converse Flagship: CONVERSE STORE HARAJUKU #japankkuru #conversejp_pr #conversejapan #harajuku #tokyotrip #converse #tokyoshopping #匡威 #帆布鞋 #東京購物 #原宿 #日本時尚 #일본쇼핑 #일본컨버스 #일본한정 #하라주쿠 #일본패션 #일본스트릿 #รองเท้าconverse #รองเท้าผ้าใบ #ช้อปปิ้ง #ฮาราจูกุ #คอนเวิร์ส
Japanese Makeup Shopping • A Trip to Kamakura & Enoshima With Canmake’s Cool-Toned Summer Makeup #pr #canmake #enoshima #enoden #에노시마 #캔메이크 #japanesemakeup #japanesecosmetics
⚔️The Robot Restaurant is gone, but the Samurai Restaurant is here to take its place. Check it out, and don't forget your coupon! 🍣신주쿠의 명소 로봇 레스토랑이 사무라이 레스토랑으로 부활! 절찬 쿠폰 발급중 💃18歲以上才能入場的歌舞秀,和你想的不一樣!拿好優惠券去看看~ #tokyo #shinjuku #samurairestaurant #robotrestaurant #tokyotrip #도쿄여행 #신주쿠 #사무라이레스토랑 #이색체험 #할인이벤트 #歌舞伎町 #東京景點 #武士餐廳 #日本表演 #日本文化體驗 #japankuru #japantrip #japantravel #japanlovers #japan_of_insta
Japanese appliance & electronics shopping with our KOJIMA x BicCamera coupon! 用JAPANKURU的KOJIMA x BicCamera優惠券買這些正好❤️ 코지마 x 빅 카메라 쿠폰으로 일본 가전 제품 쇼핑하기 #pr #japankuru #japanshopping #kojima #biccamera #japaneseskincare #yaman #dji #osmopocket3 #skincaredevice #日本購物 #美容儀 #相機 #雅萌 #日本家電 #일본여행 #면세 #여행꿀팁 #일본쇼핑리스트 #쿠폰 #일본쇼핑 #일본브랜드 #할인 #코지마 #빅카메라 #japankurucoupon
Odaiba's DiverCity Tokyo Plaza is home to the famous real-size 20m-tall Unicorn Gundam, and the popular shopping center has even more Gundam on the inside! Check out the Gundam Base Tokyo on the 7th floor for shelves upon shelves of Gunpla, and the Gundam Base Tokyo Annex on the 2nd floor for cool anime merchandise. Both shops have tons of limited-edition items! #pr #odaiba #tokyo #tokyotrip #japantrip #japantravel #PR #divercity #divercitytokyoplaza #tokyoshopping #gundam #unicorngundam #gundambasetokyo #anime #otaku #gunpla #japankuru #오다이바 #다이바시티도쿄 #오다이바건담 #건담 #일본건담 #건프라 #건담베이스도쿄